วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เขาบอกว่า วุ้นตาเสื่อม รักษาไม่ได้

เขาบอกว่า วุ้นตาเสื่อม รักษาไม่ได้ ลองวิทยาการใหม่ที่นี่

วุ้นในลูกตาเสื่อม อันตรายที่คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน

วุ้นในลูกตาเสื่อม อันตรายที่คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน (emaginfo)

          ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีใครที่ใช้คอมพิวเตอร์ บางคนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกือบทั้งวัน ก็เลยทำให้หนุ่มสาววัยทำงาน เริ่มเป็นกันมากขึ้น

          โรควุ้นในตาเสื่อมเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบโรคนี้ในวัยหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศกันมากขึ้นจนน่าตกใจ เรียกได้ว่าโรควุ้นในตาเสื่อมเป็นหนึ่งในโรค office syndrome โดยตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์

 วุ้นในตาเสื่อม กับความเสี่ยงที่มากขึ้น

          ในคนที่เป็นโรคอาการวุ้นในตาเสื่อม เวลาลืมตาจะเห็นเป็นคราบดำ ๆ เหมือนหยากไย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก โดยจะเห็นชัดก็ต่อเมื่อมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาว ๆ ฝาห้องขาว ๆ ฝาห้องน้ำขาว ๆ จะเห็นเป็นคราบดำ ๆ ลอยไปลอยมา

          ในบางคน อาจมีอาการมากกว่านั้นคือ ประสาทตาฉีกขาด จะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ซึ่งอาการนี้น่ากลัวมาก ๆ และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิมจะตาบอดหรือไม่
 bim O อาหารเสิรมดวงตา วุ้นตาเสื่อม



สนใจสอบถามโทร. 061 789 2619
Line id : apcocap

APCO พามังคุดไทยไปตลาดโลก

บมจ.เอเชียนไฟย์โตซูติคอลล์มหาชน จำกัด APCO โด่งดังจากมังคุดไม่หยุดที่ตลาดไทย

อดีตนักวิจัยผู้หันเหสู่บทบาทเจ้าของกิจการจากแรงบันดาลใจที่หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเปลือกมังคุดที่ถูกทิ้งขว้าง คือเส้นทางสร้างAPCO ของศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ที่มุ่งหน้าเดินพาผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทยไปสร้างชื่อถึงต่างแดนพร้อมโกยรายได้งามในอนาคตผลักดันยอดขายกว่าพันล้านภายในปี 2559
ที่มา : หนังสือ ฟอร์บส ไทยแลนด์ ( Forbes Thailand) ประจำเดือน พฤศจิกายน 2558







APCO ประวัติ
1. ประวัติความเป็นมา
บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท” หรือ “APCO”) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 ภายใต้ชื่อ บริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงามและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดธรรมชาติ ต่อมาในปี 2548 ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) และวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 เข้าจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ MAI ภายใต้สัญลักษณ์ “APCO”
2. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ

2 มิถุนายน 2531
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยผู้ก่อตั้ง คือ ศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ถือหุ้นร้อยละ 92 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
บริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงามจากสารสกัดจากธรรมชาติ โดยมีโรงงานแห่งแรกตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ปี 2534 สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน โดยย้ายฐานการผลิตจากโรงงานเดิมมาไว้ที่โรงงานใหม่ทั้งหมด

25 พฤษภาคม 2538 ก่อตั้ง บริษัท กรีนโกลด์ จำกัด (“GG”) ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 5 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 50,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดจากธรรมชาติ

18 พฤษภาคม 2541 ก่อตั้ง บริษัท เอเชียน นูทราซูติคอล เซ็นเตอร์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงามและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยให้ APCO และ GG เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาแล้ว

20 พฤษภาคม 2542 ก่อตั้ง บริษัท เอเชียน ไลฟ์ จำกัด (“ASL”) ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 10 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงามและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จัดจำหน่ายโดยบริษัทในกลุ่ม ด้วยระบบการขายตรงหลายชั้นแบบ Multi-Level Marketing หรือ MLM

ปี 2546
บริษัท กรีนโกลด์ จำกัด หรือ GG ได้รับใบรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดืในการผลิต (GMP : Good Manufacturing Practice ) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท โดย บริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 93 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 9.3 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ใน 3 บริษัท ได้แก่
(1) บริษัท กรีนโกลด์ จำกัด
(2) บริษัท เอเชียน ไลฟ์ จำกัด
(3) บริษัท เอเชียน นูทราซูติคอล เซ็นเตอร์ จำกัด
และต่อมา บริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด ได้ทำการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นจาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น พร้อมทั้งเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 93 ล้านหุ้น เป็น 116.25 ล้านหุ้น เพื่อรองรับแผนการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป แต่ได้ชะลอแผนการเข้าจดทะเบียนออกไปก่อน

ปี 2548 บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO ได้รับใบรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดืในการผลิต (GMP : Good Manufacturing Practice ) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2549 ปรับโครงสร้างโดยการโอนธุรกิจวิจัยและพัฒนาของ บริษัท เอเชียน นูทราซูติคอล เซ็นเตอร์ จำกัด เข้ามาดำเนินการภายใต้ APCO และทำการชำระบัญชีของบริษัท เอเชียน นูทราซูติคอล เซ็นเตอร์ จำกัด
ปี 2554 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200 ล้านบาท โดยออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ให้แก่บุคคลที่มีส่วนสนับสนุนในการเติบโตของธุรกิจบริษัทเป็นจำนวนรวม 57 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นจำนวน 45 ล้านหุ้น และเสนอขายแก่ผู้บริหารและพนักงานเป็นจำนวน 5 ล้านหุ้น พร้อมทั้งนำหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ปี 2555
ก่อตั้ง บริษัท ทีเอช17 โกลบอล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายตลาด โดยการประสานงานและบริหารการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อผู้มีปัญหาโรคมะเร็งทั้งในและต่างประเทศ
ร่วมลงทุนในบริษัท ทีเอช17 (ประเทศไทย) จำกัด ในสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 44 เพื่อขยายช่องทางการจำหน่าย
ก่อตั้ง บริษัท ท็อป มาร์คอม จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร และบริการจัดงานการตลาดเชิงกิจกรรมให้แก่องค์กรต่างๆ

2 ธันวาคม 2556 ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท โดยการรับโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer - EBT) ของบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท เอเชียน ไลฟ์ จำกัด, บริษัท กรีนโกลด์ จำกัด, บริษัท ทีเอชสิบเจ็ด โกลบอล จำกัด และ บริษัท ท็อป มาร์คอม จำกัด (“กลุ่มบริษัทย่อย”) ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 100 เข้ามาดำเนินการภายใต้ APCO และทำการจดทะเบียนเลิกกลุ่มบริษัทย่อย

8 เมษายน 2557 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 300 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการจ่ายเงินปันผล จำนวน 40 ล้านหุ้น, เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Right Offering) จำนวน 32 ล้านหุ้น และเพื่อเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวน 28 ล้านหุ้น